กิจ ๔ ประการ บทที่ ๓

บทที่ ๓  รู้จักยาสำหรับแก้โรคไข้
จะต้องสรรพคุณของสิ่งต่างๆ ซึ่งจะมาปรุงเป็นยารักษาโรค
และไข้จะต้องเรียนรู้หลักของวิชาเภสัช หลักของวิชาเภสัชนั้น
                แบ่งออกเป็นหลักใหญ่ได้ ๔ ประการ คือ
                ๑. เภสัชวัตถุ (ตัวยา)
                ๒. สรรพคุณเภสัช (สรรพคุณยา)
                ๓. คณาเภสัช (พิกัดยา)
                ๔. เภสัชกรรม (การปรุงยา)
๑. เภสัชวัตถุ (ตัวยา)
คือ รู้จักวัตถุธาตุนานาชนิด ที่จะนำมาใช้เป็นยารักษาโรคและไข้
แบ่งออกเป็น ๓ จำพวก คือ
                ๑). พืชวัตถุ แบ่งออกได้ ๕ จำพวก
                ๒). สัตว์วัตถุ แบ่งออกได้ ๓ จำพวก
                ๓). ธาตุวัตถุ แบ่งออกได้เป็น ๒ จำพวก

๒. สรรพคุณเภสัช
คือ ต้องรู้จักสรรพคุณของวัตถุนานาชนิดที่จะนำมาใช้เป็นยาบำบัดโรค
และไข้ ก่อนที่จะทราบสรรพคุณได้นั้น จะต้องสรพถึงรสของตัวยานั้นๆ เสียก่อน
จึงจะทราบสรรพคุณภายหลัง
เบื้องต้นกำหนดรสยาไว้เป็นรสประธาน ๓ รส คือ
                ๑). ยารสร้อน
                ๒). ยารสเย็น
                ๓). ยารสสุขุม
๑). ยารสร้อน
ได้แก่ตัวยาที่มีรสร้อน เช่น เมล็ดพริกไทย ขิง ข่า รากเจตมูลเพลิง
เมื่อปรุงหรือผสมแล้ว ก็จะเป็นยารสร้อน สรรพคุณแก้ในทาง วาโยธาตุ
๒). ยารสเย็น
ได้แก่ตัวยาสมุนไพร แร่ธาตุ และอวัยวะของสัตว์ที่มีรสเย็น
หรือตัวยาที่เผาเป็นถ่าน กระดูกสัตว์ เขี้ยวสัตว์ เมื่อปรุงหรือผสมแล้ว
ก็จะเป็นยารสเย็น สรรพคุณแก้ในทาง เตโชธาตุ
๓). ยารสสุขุม
ได้แก่ตัวยาที่มีรสสุขุม สมุนไพร แร่ธาตุ อวัยวะของสัตว์ ที่มีรสสุขุม
เช่น โกฐ เทียน กฤษณา กระลำพัก ขอนดอก อบเชย เมื่อปรุงหรือผสมแล้ว
ก็จะเป็นยารสสุขุม สรรพคุณแก้ในทาง อาโปธาตุ

นอกจากรสประธาน ๓ รสนี้แล้ว ยังแบ่งรสยาออกได้อีก ๙ รส ดังนี้
๑. ยารสฝาด สรรพคุณ สมาน
                ๒. ยารสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามเนื้อ
                ๓. ยารสเมาเบื่อ สรรพคุณ แก้พิษ
                ๔. ยารสขม สรรพคุณ บำรุงโลหิตและดี
                ๖. ยารสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้ลม
                ๗. ยารสมัน สรรพคุณ บำรุงเส้นเอ็น
                ๘. ยารสหอมเย็น สรรพคุณ บำรุงหัวใจ
                ๙. ยารสเปรี้ยว สรรพคุณ กัดเสมหะ
* นอกจากรสยาประธาน ๓ รสและรสยา ๙ รสแล้ว ควรเพิ่มรสจืด
สำหรับแก้ในทางเตโช สรรพคุณ ขับปัสสาวะ พร้อมทั้งควรทราบ
                - รสยาแก้ตามธาตุ
                - รสยาแก้ตามฤดู
                - รสยาแก้ตามวัย
                - รสยาแก้ตามกาล

รสยาแก้ตามธาตุ
๑. ปถวีธาตุ เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสฝาด รสหวาน รสมัน รสเค็ม
                ๒. อาโปธาตุ เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสเปรี้ยว รสขม รสเมาเบื่อ
                ๓. วาโยธาตุ เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสสุขุม รสเผ็ดร้อน
                ๔. เตโชธาตุ เมื่อพิการ แก้ด้วยยา รสเย็น รสจืด

รสยาแก้ตามฤดู
๑. คิมหันตฤดู (ฤดูร้อน) เกิดโรคเพื่อเตโชธาตุพิการ โรคปิตตะพิการ
คือ ดีพิการ ควรใช้ยารสเย็นและจืด
                ๒. วสันตฤดู (ฤดูฝน) เกิดโรคเพื่อวาโยธาตุพิการ คือ โรควาตะ
โรคลม ควรใช้ยารสร้อนและสุขุม
                ๓. เหมันตฤดู (ฤดูหนาว) เกิดโรคเพื่ออาโปธาตุพิการ คือ
สมุฏฐานเสมหะ ควรใช้ยารสสุขุมหรือรสเปรี้ยว

รสยาแก้ตามวัย
๑. ปฐมวัย (วัยเด็ก) เป็นโรคเพื่อเสมหะ (สมุฏฐานอาโป)
ควรใช้ยารสหวาน รสเปรี้ยว รสขม
                ๒. มัชฌิมวัย (วัยกลาง) เป็นโรคเพื่อโลหิตและดี (สมุฏฐานอาโป)
ควรใช้ยารสเปรี้ยวฝาด รสเปรี้ยวเค็ม รสขม
                ๓. ปัจฉิมวัย (วัยผู้เฒ่า) เป็นโรคเพื่อลมกำเริบ (สมุฏฐานวาโย)
ควรใช้ยารสขม รสร้อน รสเค็ม รสฝาด รสหอม

รสยาแก้ตามกาล
กาล ๔
ยาม ๑ นับแต่ ๐๖.๐๐น. - ๐๙.๐๐น. และ ๑๘.๐๐ น. - ๒๑.๐๐ น.
เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดเสมหะ ใช้ยารสเปรี้ยว
ยาม ๒ นับแต่ ๐๙.๐๐น. - ๑๒.๐๐น. และ ๒๑.๐๐ น. - ๐๐.๐๐ น.
                 เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดโลหิต ใช้ยารสขม
ยาม ๓ นับแต่ ๑๒.๐๐น. - ๑๕.๐๐น. และ ๐๐.๐๐ น. - ๐๓.๐๐ น.
                 เป็นสมุฏฐานอาโป พิกัดดี ใช้ยารสเปรี้ยว รสขม
ยาม ๔ นับแต่ ๑๕.๐๐น. - ๑๘.๐๐น. และ ๐๓.๐๐ น. - ๐๖.๐๐ น.
                 เป็นสมุฏฐานวาโย พิกัดวาตะ(ลม) ใช้ยารสเผ็ดร้อน รสสุขุม

กาล ๓
ยาม ๑ นับแต่ ๐๖.๐๐น. - ๑๐.๐๐น. และ ๑๘.๐๐ น. - ๒๒.๐๐ น.
                เกิดโรคเพื่อเสมหะ ใช้น้ำกระสายยารสเปรี้ยว
ยาม ๒ นับแต่ ๑๐.๐๐น. - ๑๔.๐๐น. และ ๒๒.๐๐ น. - ๐๒.๐๐ น.
                 เกิดโรคเพื่อโลหิตและดี ใช้น้ำกระสายยารสขม
ยาม ๓ นับแต่ ๑๔.๐๐น. - ๑๘.๐๐น. และ ๐๒.๐๐ น. - ๐๖.๐๐ น.
                 เกิดโรคเพื่อลม ใช้น้ำกระสายยารสร้อน

๓. คณาเภสัช
คือ รู้จักพิกัดยา หมายถึง ตัวยาหลายอย่างที่มีชื่อต่างกันรวมเรียกเป็นชื่อเดียว
และตัวยาแต่ละสิ่งหนักเสมอภาค (พิกัดยา)
แบ่งออกได้ ๓ หมวด ดังนี้คือ
                ๑). จุลพิกัด
                ๒). พิกัดยา
                ๓). มหาพิกัด
พิกัดยา
๑). จุลพิกัด
คือ พิกัดเรียกชื่อตรงของตัวยานั้นๆเป็นพิกัดเล็ก
มีตัวยาน้อยอย่างโดยมากเป็นตัวยาอย่างเดียวกัน
เช่น กะเพราทั้ง ๒ ผักหวานทั้ง ๒ เป็นต้น

๒). พิกัดยา
คือ ตัวยาหลายสิ่งหลายอย่างรวมเรียกชื่อเดียวกัน
จะเป็นคำตรงหรือคำศัพท์ก็ได้ น้ำหนักของตัวยาในพิกัดนั้นเท่ากัน จึงเรียกว่า พิกัดยา
แบ่งออกเป็น พิกัดตรี พิกัดจตุ พิกัดเบญจ พิกัดสัตตะ พิกัดเนาว พิกัดพิเศษ
๓). มหาพิกัด
คือ ตัวยาหลายสิ่งหลายอย่างรวมเรียกชื่อต่างกัน รวมเรียกเป็นชื่อเดียวกันเหมือนกับพิกัดยา
ต่างแต่ตัวยาแต่ละอย่างในมหาพิกัดมีน้ำหนักไม่เท่ากัน เพราะเหตุว่ามหาพิกัดนี้
สงเคราะห์เอาไปแก้ตามกองฤดู กองธาตุกำเริบ หย่อน และพิการ โรคแทรก โรคตาม
เพื่อผลทางการรักษา (รวมตลอดจนพิกัดชั่ง ตวง วัด)

๔. เภสัชกรรม
คือ รู้จักการปรุงยาที่ผสมใช้ตามวิธีต่างๆตามตำราโบราณ
การปรุงยาตามหลักสูตรเภสัชกรรมมี ๔ ประเภท
แบ่งออกเป็น ๒๓ วิธี การปรุงยาตามเวชศึกษามี ๒๔ วิธี
คือ เพิ่มยาพอก แบ่งออกได้ ๔ ประเภท ดังนี้
                ๑). ประเภทยาน้ำ ๑๑ วิธี
                ๒). ประเภทยาผง ๗ วิธี
                ๓). ประเภทยาเม็ดลูกกลอน ปั้นเป็นแท่ง ๒ วิธี
                ๔). ยาเอาควัน ไอรม ดมกลิ่น ๔ วิธี