ประวัติการแพทย์แผนไทย

ประวัติการแพทย์แผนโบราณ
  เริ่มมีการบันทึกตั้งแต่สมัยพุทธกาล มีชายผู้หนึ่งสนใจวิชาแพทย์
ชื่อ ชีวกโกมารภัจจ์จึงได้ไปศึกษาวิชาแพทย์ที่สำนักทิศาปาโมกข์ในเมืองตักศิลา
จนจบได้อย่างรวดเร็วและสามารถผู้ป่วยครั้งเดียวหาย
  ครั้งหนึ่งพระเจ้าพิมพิสารทรงพระประชวรเป็นโรคพระคันทละ(ริดสีดวง)
ทรงโปรดให้หมอชีวกมารภัจจ์ถวายการรักษา ซึ่งรักษาครั้งเดียวหาย
พระเจ้าพิมพิสารจึงทรงโปรดให้เป็นแพทย์หลวง
ประวัติการแพทย์แผนไทย
   ประมาณปี พ.ศ. ๑๗๒๕ - ๑๗๒๙ สมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ ๗
ทรงสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลา มีพิธีกรรมบวงสรวง
พระไภสัชยคุรุไวทูรย์  ด้วยยาและอาหารก่อนแจกจ่ายให้ผู้ป่วย และในสมัย
พ่อขุนรามคำแหงมหาราชทรงสร้างสวนสมุนไพรขนาดใหญ่บนเขาหลวงหรือ
เขาสรรพยา เพื่อให้ประชาชนได้เก็บสมุนไพรไปใช้รักษาโรคยามเจ็บป่วย

  สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชมีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน
สำหรับประชาชนมีแหล่งจำหน่ายยาสมุนไพรทั้งในและนอกกำแพงเมือง
มีการรวบรวมตำรับยาต่างๆขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การแพทย์แผนไทย
เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์
 
สมัยต้นรัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายาและฤาษีดัดตน ตำราการนวดไทยไว้ตาม
ศาลาราย มีการจัดตั้งกรมหมอ ผู้รับราชการเรียกว่า หมอหลวง ส่วนหมอที่
ประชาชนทั่วไปเรียกว่า หมอราษฎร หรือหมอเชลยศักดิ์  
สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านาภาลัย
- ในปี พ.ศ. ๒๓๕๙ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ตรากฎหมายชื่อว่า  
  “กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย
สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้ง โรงเรียนแพทย์แผนโบราณแห่งแรก คือ
    " วิทยาลัยการแพทย์แผนโบราณวัดโพธิ์ "  
    - มีการบันทึกตำรับยาต่างๆ บนหินอ่อนประดับไว้ตามผนังโบสถ์ ศาลา
      บนผนังเสาและกำแพงวิหารคดรอบเจดีย์สี่องค์ ณ พระเชตุพนวิมลมังคลารามและศาลาต่างๆ
    - จัดหาสมุนไพรที่ใช้ปรุงยา และหายากมาปลูกในวัดโพธิ์ เป็นจำนวนมาก
    - ทรงให้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่างๆ
สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระจุลเกล้าเจ้าอยู่หัว
- นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้
สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ปี พ.ศ. ๒๔๓๑ จัดตั้งศิริราชพยาบาล มีการเรียนการสอน การรักษา
  ทั้งการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตกร่วมกัน 
- มีการพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนแพทย์ เป็นครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๔๓๘ 
       ชื่อตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์  เล่ม -  เป็นตำราแห่งชาติฉบับแรก
     - ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวช เห็นว่าตำรานี้ยากแก่ผู้ศึกษา
       จึงพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ ได้แก่ ตำราแพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับหลวง ๒ เล่ม
       และตำราแพทย์ศาสตร์สังเขป(เวชศึกษา) 
 สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ปี พ.ศ. ๒๔๕๖ สั่งยกเลิกวิชาการแพทย์แผนไทย
- ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ ประกาศให้ใช้พระราชบัญญัติการแพทย์ควบคุมการประกอบ
      โรคศิลปะ
สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
- ตรากฎหมายเสนาบดี การประกอบโรคศิลปะออกเป็นแผนปัจจุบันและแผนโบราณ
            ประเภทแผนปัจจุบัน คือ
                   ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำราในหลักวิทยาศาสตร์
            ประเภทแผนโบราณ  คือ
                   ผู้ประกอบโรคศิลปะโดยอาศัยความรู้จากตำราหรือการเรียน 
                   สืบต่อกันมาไม่ได้ศึกษาตามหลักวิทยาศาสตร์
 สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล
มีการตั้งกระทรวงสาธารณสุข ขึ้นในปี  พ.ศ. ๒๔๘๕  ซึ่งเป็นนโยบายเกี่ยวกับ
สมุนไพรว่าจะจัดให้มีการตรวจค้นหาความรู้
ในเรื่องสรรพคุณยาสมุนไพรและยาอื่นๆ
ในประเทศ เพื่อนำมาดัดแปลงเป็นยาแผนตะวันตก
และขยายการทำยาให้มากชนิดและ มีปริมาณมากขึ้น
สมัยรัชกาลที่ พระบาทสมเด็จพระภูมิพลอดุลเดชมหาราช
     - ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ จัดตั้งสมาคมของโรงเรียนแพทย์แผนโบราณที่วัดโพธิ์ 
     - ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ก่อตั้งโรงเรียนอายุรเวทวิทยาลัย
ปัจจุบันเพิ่ม
การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณประยุกต์(แพทย์แผนไทยประยุกต์)
คือ การประกอบโรคศิลปะแผนโบราณซึ่งอาศัยโดยหลักวิทยาศาสตร์
แต่ไม่ใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์การแพทย์เพื่อการวิจัย
และรักษานอกจากที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงและเป็นการศึกษา
ของสถานศึกษาที่คณะกรรมการกองการประกอบโรคศิลปะรับรอง