กิจ ๔ ประการ บทที่ ๔

บทที่ ๔ รู้ว่ายาอย่างใดควรจะแก้โรคชนิดใด
หลักใหญ่ในการตรวจโรค มีหลักอยู่ ๔ ประการ คือ
                ๑. ซักประวัติผู้ป่วยและครอบครัว
                ๒. ซักประวัติโรคทั้งอดีต - ปัจจุบัน
                ๓. ตรวจสภาพร่างกายและจิตใจ
                ๕. ตรวจอาการ(ตรวจทางห้องปฏิบัติการ)
หลักการตรวจโรค
๑. ซักประวัติผู้ป่วยและครอบครัว
                - ชื่อผู้ป่วย สำหรับลงทะเบียน
                - ที่อยู่ ภูมิประเทศที่อยู่ของผู้ป่วย(ประเทศสมุฏฐาน)
                - เชื้อชาติ ศาสนาและความประพฤติ
                - เกิดที่ไหน (ประเทศสมุฏฐาน)
                - อายุเท่าไร (อายุสมุฏฐาน)
                - อาชีพอะไร
                - ครอบครัวเป็นอย่างไร(ปู่ ย่า ตา ยาย พ่อ แม่ พี่ น้อง ลูก สามี ภรรยา)
                - พฤติกรรมส่วนตัว ( ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ดื่มชา กาแฟ ฯลฯ)
                - โรคภัยไข้เจ็บที่เป็นมาก่อนมีอาการอย่างไร
๒. ถามประวัติโรค(ทั้งอดีตและปัจจุบัน)
                - เริ่มมีอาการตั้งแต่เมื่อไร (สำหรับกาล อุตุ และอายุสมุฏฐาน)
                - สาเหตุ ความเป็นมา อย่างไร
                - แรกเจ็บมีอาการอย่างไร
                - มีอาการเป็นลำดับมาอย่างไร
                - ได้รักษาพยาบาลมาอย่างไร
                - มีอาการผันแปรมาอย่างไร
                - อาการป่วยในวันหนึ่งๆเป็นอย่างไร
                - อาการ ณ ปัจจุบันที่พบเห็นเป็นอย่างไร
๓. ตรวจสภาพร่างกายและจิตใจ
                - ผู้ป่วยมีรูปร่างอย่างไร
                - อาการอ่อนเพลีย(มาก-น้อย อย่างไร)
                - มีสติอารมณ์เป็นอย่างไร
                - อาการเจ็บป่วย(มาก-น้อย อย่างไร)
                - ชีพจรเป็นอย่างไร(จังหวะการเต้น)
                - การหายใจ(ช้า-เร็ว)
                - ตรวจหัวใจ ปอด ลิ้น ตา ผิวพรรณ
                - ตรวจเฉพาะที่
๕. ตรวจอาการ(ตรวจทางห้องปฏิบัติการ)
                - วัดอุณหภูมิ(ปรอท)
                - ตรวจอุจจาระ
                - ตรวจปัสสาวะ
                - ตรวจเลือด

การวินิจฉัย
เมื่อตรวจได้ความพอที่จะลงความเห็นแล้วเราจะวินิจฉัยโรคและ
วางแผนการรักษา โดยมีหลักการดังนี้
                ๑. ผู้ป่วยมีอาการอย่างไร เป็นโรคชนิดไหน ชื่ออะไร
                ๒. โรคนั้นๆอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดขึ้น
                ๓. โรคชนิดนี้จะแก้ไขเยี่ยวยาวิธีใด จึงจะถูกแก่โรค
                ๔. สรรพคุณยาที่จะบำบัดโรคชนิดนั้น จะใช้สรรพคุณยาอะไร