พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย

พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย
ผู้แต่ง      ตามพระคัมภีร์ไม่ปรากฏ คาดว่าเป็นพระอาจารย์ชีวกโกมารภัจจ์แพทย์
กล่าวถึง  การค้นหาสาเหตุแห่งไข้ การวินิจฉัยโรค การตรวจโรค หรือการ
พยากรณ์และไข้ต่างๆโดยกล่าวถึงกองพิกัดสมุฏฐาน ๔ ประการ คือ
                ๑. ธาตุสมุฏฐาน
                 ๒. อุตุสมุฏฐาน
                 ๓. อายุสมุฏฐาน
                 ๔. กาลสมุฏฐาน
                สมุฏฐานทั้ง ๔ นี้ แพทย์ทั้งหลายควรรู้แจ้งเพราะเป็นที่ตั้งแห่งภูมิโรค
แพทย์ใดมิได้รู้แจ้ง ชื่อว่า มิจฉาญาณแพทย์
แพทย์ใดรู้แจ้ง        ชื่อว่า เสฎฐญาณแพทย์

ธาตุสมุฏฐาน แบ่งออกได้ ๔ กอง คือ
(สมุฏฐานทั้ง ๔ มีเตโชธาตุเป็นต้น ปถวีเป็นที่สุด)
                ๑. เตโชธาตุ (ธาตุไฟ)
                ๒. วาโยธาตุ (ธาตุลม)
                ๓. อาโปธาตุ (ธาตุน้ำ)
                ๔. ปถวีธาตุ (ธาตุดิน)
๑. สมุฏฐานเตโชธาตุพิกัด
     เป็นที่ตั้งแห่งจตุกาลเตโช (ธาตุไฟ ๔) ซึ่งจะเป็น ชาติ จลนะ ภินนะ
(เอกโทษ ทุวรรณโทษ และตรีโทษ) ก็อาศัย
พัทธปิตตะ อพัทธปิตตะ กำเดา ทั้ง ๓ นี้
เป็นเหตุในกองเตโชธาตุพิกัดสมุฏฐาน กองหนึ่ง
๒. สมุฏฐานวาโยธาตุพิกัด
     เป็นที่ตั้งแห่งฉกาลวาโย (ธาตุลม ๖) ซึ่งจะวิปริตเป็น ชาติ จลนะ ภินนะ
ก็อาศัยแห่ง หทัยวาตะ สัตถะวาตะ สุมนาวาตะ ทั้ง ๓ นี้ เป็นเหตุ
ในกองอาโปธาตุพิกัดสมุฏฐานกองหนึ่ง
๓. สมุฏฐานอาโปธาตุพิกัด
     เป็นที่ตั้งแห่งทวาทะสะอาโป (ธาตุน้ำ ๑๒) ซึ่งจะวิปริตเป็น ชาติ จลนะ
ภินนะ ก็อาศัยแห่ง ศอเสมหะ อุระเสมหะ คูถเสมหะ ทั้ง ๓ นี้เป็นเหตุใน
กองอาโปธาตุพิกัดสมุฏฐานกองหนึ่ง
๔. สมุฏฐานปถวีธาตุพิกัด
     เป็นที่ตั้งแห่งวีสติปถวี (ธาตุดิน ๒๐) ซึ่งจะวิปริตเป็น ชาติ จลนะ ภินนะ
ก็อาศัย หทัยวัตถุ อุทริยะ กรีสะ ทั้ง ๓ นี้เป็นเหตุในกองปถวีธาตุ
พิกัดสมุฏฐานกองหนึ่ง

ฤดูสมุฏฐาน
ฤดูสมุฏฐาน มีฤดู ๓ กับ ฤดู ๖
๑. สมุฏฐานฤดู ๓ คือ (ฤดูหนึ่งมี ๔ เดือน)
                ๑.๑ คิมหันตะสมุฏฐาน         
                ๑.๒ วัสสานะสมุฏฐาน
                ๑.๓ เหมันตะสมุฏฐาน
๒. ฤดู ๖ คือ (ฤดูหนึ่งมี ๒ เดือน)
                ๒.๑ คิมหันตะสมุฏฐาน
๒.๒ วสันตะสมุฏฐาน
๒.๓ วัสสานะสมุฏฐาน
                ๒.๔ สะระทะสมุฏฐาน
๒.๕ เหมันตะสมุฏฐาน
๒.๖ ศิศิระสมุฏฐาน

ฤดู ๓ ปีหนึ่งแบ่งออกเป็น ๓ ฤดู ฤดูละ ๔ เดือน
๑. คิมหันตะฤดู นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘
พิกัดปิตตะ สมุฏฐานเป็นเหตุ

๒. วสันตะฤดู นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒
พิกัดวาตะ สมุฏฐานเป็นเหตุ

๓. เหมันตะฤดู นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔
พิกัดเสมะ สมุฏฐานเป็นเหตุ

ฤดู ๖ ปี ๑ แบ่งออกเป็น ๖ ฤดู ฤดูละ ๒ เดือน
๑. คิมหันตะฤดู นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๔ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖
พิกัดปิตตะสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐานระคนเป็นเหตุ

๒. วสันตะฤดู นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๖ ถึงขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘           
พิกัดปิตตะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐานระคนเป็นเหตุ

๓. วัสสานะฤดู นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๐
พิกัดวาตะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคนเป็นเหตุ

๔. สะระทะฤดู นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๐ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๒   
พิกัดวาตะสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐานระคนเป็นเหตุ

๕. เหมันตะฤดู นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๑๒ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๒   
พิกัดเสมหะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐานระคนเป็นเหตุ

๖. ศิศิระฤดู นับตั้งแต่แรม ๑ ค่ำเดือน ๒ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๔   
พิกัดเสมหะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคนเป็นเหตุ

กล่าวพิสดารในสมุฏฐานฤดู ๓
คิมหันตะสมุฏฐาน คือ แรมค่ำ ๑ เดือน ๔ ไปถึงเพ็ญเดือน ๘ (๑๒๐วัน)
เป็นพิกัดแห่งปิตตะ ใช่จะทำเต็มทั้ง ๔ เดือนนั้นหามิได้ แบ่งออกโดยพิเศษ
สมุฏฐาน ๓ แล ๓ ดังนี้
๑. คือแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๕ (๔๐วัน)
เป็นตำแหน่งพัทธปิตตะสมุฏฐาน แต่พัทธปิตตะจะได้ทำเองนั้นหามิได้
อาศัยจตุกาลเตโชกองใดกองหนึ่งระคนพัทธะปิตตะสมุฏฐาน เหตุว่าเป็นเจ้าของ
(ถ้าแก้อย่าให้เสียเดิมเป็นอาทิโดยพิกัด)
๒. แต่แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๕ ไปจนถึง ๕ ค่ำ เดือน ๗  (๔๐วัน)
เป็นตำแหน่งอพัทธะปิตตะสมุฏฐาน แต่อพัทธปิตตะจะได้เป็นเต็มที่นั้นหามิได้
อพัทธปิตตะกระทำกึ่ง ระคนกัน (ถ้าจะแก้อย่างให้เสียเดิมโดยพิกัด)
๓. แต่ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๗ ไปจนถึงเพ็ญเดือน ๘ (๔๐วัน)
เป็นตำแหน่งกำเดาสมุฏฐาน แต่กำเดาจะได้ระคนด้วยกาลเตโชกองใดกองหนึ่ง
หามิได้ กำเดานี้ทั่วไปในสมุฏฐานทั้ง ๓ คือ พันธปิตตะ อพัทธปิตตะ กำเดา
แลว่าจะให้กายบริบูรณ์ก็เพราะกำเดา จะมิให้กายบริบูรณ์ก็เพราะกำเดา
ถ้าจะแก้อย่าให้เสียกำเดาโดยพิกัด

วัสสานะสมุฏฐาน คือแรมค่ำ ๑ เดือน ๘ ไปจนเพ็ญเดือน ๑๒ (๑๒๐วัน)
เป็นพิกัดวาโย ใช่จะเป็นเต็มทั้ง ๔ เดือนนั้นหามิได้ แบ่งออกโดยวิเศษละ ๓
ละ ๓ ดังนี้
                ๑. แรม ๑ ค่ำเดือน ๘ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๙ (๔๐วัน)
เป็นตำแหน่งหทัยวาตะ แต่หทัยวาตจะได้ทำเองนั้นหามิได้อาศัยแห่งกาลวาโย
กองใดกองหนึ่ง ระคนหทัยวาตะสมุฏฐานเหตุเป็นเจ้าของ
ถ้าจะแก้อย่าให้เสียเดิมโดยพิกัด
                ๒. แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๙ ไปจนถึง ๕ ค่ำ เดือน ๑๑ (๔๐ วัน)
เป็นตำแหน่งสัตถะกะวาตะกระทำกึ่งหนึ่ง กาลวาโยกระทำกึ่งหนึ่งระคนกัน
ถ้าจะแก้อย่าให้เสียของเดิมโดยพิกัด
                ๓. ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๑๑ ไปจนถึงเดือน ๑๒ (๔๐ วัน)
เป็นตำแหน่งสุมนาสมุฏฐาน แต่สุมนาจะได้ระคนด้วยกาลวาโยกองใดกองหนึ่ง
นั้นหามิได้ ด้วยเหตุว่าสุมะนานี้ทั่วไปในสมุฏฐานทั้ง ๓ คือ หทัยวาตะ
สัตถะกะวาตะ สุมนาวาตะ แลอาจให้กระวนกระวายก็เพราะสุมนาวาตะ
มิให้กระวนกระวายก็เพราะสุมะนา ถ้าจะแก้อย่าให้เสียสุมะนาสมุฏฐานโดยพิกัด

เหมันตะสมุฏฐาน คือ แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๒ ไปจนถึงเพ็ญ ๔ (๑๒๐วัน)
เป็นพิกัดแห่งเสมหะสมุฏฐาน แต่เสมหะจะได้ทำเต็มทั้ง ๔ เดือนนั้นหามิได้
แบ่งออกโดนพิเศษละ ๓ ละ ๓ ดังนี้
                ๑. แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๒ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำเดือนอ้าย (๔๐วัน)
เป็นตำแหน่งศอเสมหะสมุฏฐาน แต่ศอเสมหะจะได้กระทำเองนั้นหามิได้
อาศัยกาลปะระเมหะ  คือ อาโปเกรอะลงมาระคนศอเสมหะสมุฏฐาน
เหตุว่าเป็นเจ้าของ ถ้าจะแก้อย่าให้เสียของเดิมโดยพิกัด
                ๒. แรม ๑๑ ค่ำ เดือน อ้ายไปจนถึง ๕ ค่ำ เดือน ๓ (๔๐วัน)
เป็นตำแหน่งอุระเสมหะสมุฏฐาน กระทำกึ่ง กาลปะระเมหะกระทำกึ่งระคนกัน
ถ้าจะแก้อย่าให้เสียของเดิมโดยพิกัด
                ๓. ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๓ ไปจนเพ็ญเดือน ๔ (๔๐วัน)
เป็นตำแหน่งคูถเสมหะสมุฏฐานจะได้ระคนด้วยปะระเมหะ คือ อาโปกองใด
กองหนึ่งนั้นหามิได้ ด้วยเหตุว่าคูถเสมหะนี้ทั่วไปในสมุฏฐานทั้ง ๓ คือ
ศอเสมหะ อุระเสมหะ คูถเสมหะ แลอาจให้กายบริบูรณ์ก็เพราะคูถเสมหะ
มิให้กายบริบูรณ์ก็เพราะเสมหะ ถ้าจะให้แก้อย่าให้เสียคูถเสมหะสมุฏฐาน
เป็นอาทิโดยพิกัด

สรุปมหาพิกัดในสมุฏฐานแห่งฤดู ๓
คิมหันตะสมุฏฐาน ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๔ ไปจนถึงเพ็ญเดือน ๘
เป็นพิกัดกำเดาในกองเตโชแบ่งออกแล ๓ แล ๓ ดังนี้
                ๑. พัทธปิตตะ ๔๐ วัน
                ๒. อพัทธปิตตะ ๔๐ วัน
                ๓. กำเดา ๔๐ วัน
วัสสานะสมุฏฐาน ตั้งแต่เริ่มค่ำหนึ่งเดือน ๘ ไปจนถึงเพ็ญเดือน ๑๒
เป็นพิกัดสุมนาวาตะในกองวาโย แบ่งออกแล ๓ แล ๓ ดังนี้
                ๑. หทัยวาตะ ๔๐ วัน
                ๒. สัตถะกะวาตะ ๔๐ วัน
                ๓. สุมนาวาตะ ๔๐ วัน
เหมันตะสมุฏฐาน ตั้งแต่แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๒ ไปจนถึงเพ็ญเดือน ๔
เป็นพิกัดเสมหะในกองอาโป แบ่งออกแล ๓ แล ๓ ดังนี้
                ๑. ศอเสมหะ ๔๐ วัน
                ๒. อุระเสมหะ ๔๐ วัน
                ๓. คูถเสมหะ ๔๐ วัน

กล่าวพิสดารในสมุฏฐานฤดู ๖
การจัดแบ่งพิสดารในสมุฏฐานฤดู ๖ มีดังการจัดแบ่งดังต่อไปนี้
                ๑. คิมหันตะสมุฏฐาน แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ช่วงละ ๒๐ วัน
                ๒. วสันตะสมุฏฐาน แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ช่วงละ ๒๐ วัน
                ๓. วัสสานะสมุฏฐาน แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ช่วงละ ๒๐ วัน
                ๔. สะระทะสมุฏฐาน แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ช่วงละ ๒๐ วัน
                ๕. เหมันตะสมุฏฐาน แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ช่วงละ ๒๐ วัน
                ๖. ศิศิระสมุฏฐาน แบ่งออกเป็น ๓ ช่วง ช่วงละ ๒๐ วัน

คิมหันตะสมุฏฐาน
๑. แรม ๑ ค่ำเดือน ๔ ไปจนขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๕ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอพัทธปิตตะสมุฏฐานแต่จะได้จะละนะนั้นหามิได้ อาศัยเสมหะกล้าระคน
ส่วน ๑ อพัทธปิตตะกล้าระคน ๒ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน ให้พัทธปิตตะเจ้าเรือน
๒. ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๕ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๕ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภออพัทธปิตตะสมุฏฐานจะละนะกล้า เสมหะสมุฏฐานเป็นกลางระคน
ส่วน ๑ กำเดากล้าระคน ๒ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน ให้อพัทธปิตตะเจ้าเรือน
๓. แรม ๑๑ ค่ำเดือน ๕ ไปจนเพ็ญเดือน ๖ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอกำเดาสมุฏฐานจะละนะกล้า เสมหะสมุฏฐานอ่อนระคนส่วน ๑
อพัทธปิตตะกล้าระคน ๒ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน ให้กำเดาเจ้าเรือน

วสันตะสมุฏฐาน
๑. แรมค่ำหนึ่งเดือน ๖ ไปจนขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๗ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอพัทธสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐาน ๒ ส่วน อพัทธะปิตตะระคนส่วน ๑
รวมเป็น ๓ ส่วน พัทะปิตตะเจ้าเรือนให้จะละนะ
                ๒. ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๗ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำ เดือน ๗ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอพัทธะปิตตะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐาน ๒ ส่วน กำเดาระคน ๑ ส่วน
รวมเป็น ๓ ส่วน อพัทธปิตตะเจ้าเรือนให้จะละนะ
                ๓. แรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๗ ไปจนเพ็ญเดือน ๘ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอกำเดาสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐานระคน ๓ ส่วน อพัทธะปิตตะระคน
กำเดาเจ้าเรือนให้จะละนะ

วัสสานะสมุฏฐาน
๑. แรมค่ำหนึ่งเดือน ๘ ไปจนขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๙ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอหทัยวาตะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคนส่วน ๑
สุมนาระคน ๒ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน หทัยวาตะเจ้าเรือนให้จะละนะ
                ๒. ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๙ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๙ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอสัตถะกะวาตะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคนส่วน ๑
สุมนาระคน ๒ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน สัตถะกาตะเจ้าเรือนให้จะละนะ
                ๓. แรม ๑๑ ค่ำเดือน ๙ ไปจนเพ็ญเดือน ๑๐ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอสุมะนาสมุฏฐานกล้าปิตตะสมุฏฐานอ่อนระคนส่วน ๑
สัตถะกะวาตะระคน ๒ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน สุมนาวาตะเจ้าเรือนให้จะละนะ

สะระทะสมุฏฐาน
๑. แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๐ ไปจนขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๑๑ (๒๐ วัน)
เป็นหทัยวาตะสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐานระคนส่วน ๒
สัตถะกะวาตะระคนส่วน ๑ รวมเป็น ๓ ส่วน หทัยวาตะให้จะละนะ
                ๒. ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๑๑ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๑๑ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอสัตถะกะวาตะสมุฏฐาน เสมหะสมุฏฐานระคน ๒ ส่วน
สุมนาระคน ๑ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน สัตถะกะตะเป็นจะละนะ
                ๓. แรม ๑๑ ค่ำเดือน ๑๑ ไปจนเพ็ญเดือน ๑๒ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอสุมนาสมุฏฐานเสมหะสมุฏฐานระคน ๓ ส่วน
สัตถะกะวาตะระคนมิควรแก้ สุมนาเจ้าเรือนให้จะละนะ

เหมันตะสมุฏฐาน
๑. แรมค่ำหนึ่งเดือน ๑๒ ไปจนขึ้น ๕ ค่ำเดือนอ้าย (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอศอเสมหะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐานระคน ๒ ส่วน
อุระเสมหะระคน ๑ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน ศอเสมหะเจ้าเรือนให้จะละนะ
                ๒. ขึ้น ๖ ค่ำเดือนอ้าย ไปจนแรม ๑๐ ค่ำเดือนอ้าย (๒๐ วัน)
เป็นอำเภออุระเสมหะสมุฏฐาน วาตะสมุฏฐานระคน ๒ ส่วน
คูถเสมหะระคนส่วน ๑ รวมเป็น ๓ ส่วน อุระเสมหะเจ้าเรือนให้จะละนะ
                ๓. แรม ๑๑ ค่ำเดือนอ้าย ไปจนเพ็ญเดือนยี่ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอคูถเสมหะสมุฏฐานกล้า วาตะสมุฏฐานอ่อนระคนส่วน ๑
อุระเสมหะกล้าระคน ๒ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน คูถเสมหะเจ้าเรือนให้จะละนะ

ศิศิระสมุฏฐาน
                ๑. แรมค่ำหนึ่งเดือนยี่ ไปจนขึ้น ๕ ค่ำเดือน ๓ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอศอเสมหะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคนส่วน ๑
อุระเสมหะระคน ๒ ส่วน รวมเป็น ๓ ส่วน ศอเสมหะเจ้าเรือนให้จะละนะ
                ๒. ขึ้น ๖ ค่ำเดือน ๓ ไปจนแรม ๑๐ ค่ำเดือน ๓ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภออุระเสมหะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคน ๒ ส่วน
คูถเสมหะระคนส่วน ๑ รวมเป็น ๓ ส่วน อุระเสมหะเจ้าเรือนให้จะละนะ
                ๓. แรม ๑๑ ค่ำเดือน ๓ ไปจนเพ็ญเดือน ๔ (๒๐ วัน)
เป็นอำเภอคูถเสมหะสมุฏฐาน ปิตตะสมุฏฐานระคน ๓ ส่วน
อุระเสมหะระคนมิควรแก้ คูถเสมหะเจ้าเรือนให้จะละนะ

สรุปกล่าวพิสดารในสมุฏฐานฤดู ๖
คิมหันตะสมุฏฐาน แบ่งไว้ ๓ อย่างดังนี้
                - พัทธะปิตตะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - อพัทธะปิตตะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - กำเดา ๒๐ วัน
วสันตะสมุฏฐาน แบ่งไว้ ๓ อย่างดังนี้
                - พัทธปิตตะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - อพัทธปิตตะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - กำเดา ๒๐ วัน
วัสสานะสมุฏฐาน แบ่งไว้ ๓ อย่างดังนี้
                - หทัยวาตะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - สัตถะกะวาตะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - สุมะนาสมุฏฐาน ๒๐ วัน
สะระทะสมุฏฐาน แบ่งไว้ ๓ อย่างดังนี้
                - หทัยวาตะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - สัตถะกะวาตะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - สุมะนาสมุฏฐาน ๒๐ วัน
เหมันตะสมุฏฐาน แบ่งไว้ ๓ อย่างดังนี้
                - ศอเสมหะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - อุระเสมหะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - คูถเสมหะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
ศิศิระสมุฏฐาน แบ่งไว้ ๓ อย่างดังนี้
                - ศอเสมหะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - อุระเสมหะสมุฏฐาน ๒๐ วัน
                - คูถเสมหะสมุฏฐาน ๒๐ วัน

อายุสมุฏฐาน
แบ่งออกเป็นได้ ๓ วัย ดังนี้
                ๑. ปฐมวัย (วัยทารก)
                ๒. มัชฌิมวัย (วัยกลางคน)
                ๓. ปัจฉิมวัย (ผู้เฒ่า)
๑. ปฐมวัย (วัยทารก)
อันว่าบุคคลผู้ใดคลอดจากครรภ์มารดา มีอายุได้วัน ๑ ขึ้นไปถึง ๑๖ ปี
เป็นกำหนด ถ้าจะเป็นโทษในสมุฏฐานอันใดอันหนึ่งก็ดี เสมหะเป็นเจ้าเรือน
เจือไปในสมุฏฐานทั้งปวง ถ้าจะให้โทษก็มีกำลังกว่าสมุฏฐานทั้งหลาย
๒. มัชฌิมวัย (วัยกลางคน)
บุคคลผู้ใดมีอายุล่วง ๑๖ ปีขึ้นไปจนถึง ๓๐ ปีเป็นกำหนด ถ้าจะเป็นโทษ
ในสมุฏฐานอันใดก็ดี ปิตตะเจ้าสมุฏฐานย่อมเจือไปในกองสมุฏฐานทั้งปวง
ถ้าจะให้โทษก็มีกำลังกว่าสมุฏฐานทั้งปวง
๓. ปัจฉิมวัย (ผู้เฒ่า)
ถ้าบุคคลผู้ใดมีอายุล่วงพ้น ๓๐ ปีขึ้นไป ตราบเท่าอายุขัยเป็นกำหนด
ถ้าจะเป็นโทษในสมุฏฐานอันใดก็ดี  วาตะเป็นเจ้าสมุฏฐาน ย่อมเจือไปใน
กองสมุฏฐานทั้งปวง ถ้าจะให้โทษก็มีกำลังกว่าสมุฏฐานทั้งหลาย
หมายเหตุ               
ถ้าแพทย์รู้แก้ในกองอายุสมุฏฐานโรคทั้ง ๓ ประการดังนี้แล้ว ก็พึงประกอบ
ซึ่งโอสถตามอายุโรค อันสมควรแก่สมุฏฐานพิกัด

อายุสมุฏฐานมีกำลัง
๑. ปฐมวัย นับตั้งแต่คลอดถึงอายุ ๑๖ ปี เสมหะเป็นเจ้าเรือน
บังเกิดโรคมีกำลัง ๑๒ องศาเป็นกำหนด ถ้าเป็นโรคใดให้ตั้ง
เสมหะเป็นต้น วาตะเป็นที่สุด

๒. มัชฌิมวัย นับตั้งแต่อายุ ๑๖ ปี ถึง ๓๐ ปี ปิตตะเป็นเจ้าเรือน
บังเกิดโรคมีกำลัง ๗ องศาเป็นกำหนด ถ้าเป็นโรคใดให้ตั้ง
ปิตตะเป็นต้น เสมหะเป็นที่สุด

๓. ปัจฉิมวัย นับตั้งแต่อายุ ๓๐ ปีขึ้นไป จนถึงสิ้นอายุขัย าตะเป็นเจ้าเรือน
บังเกิดโรคมีกำลัง ๑๐ องศาเป็นกำหนด  ถ้าเป็นโรคใดให้ตั้ง
วาตะเป็นต้น ปิตตะเป็นที่สุด

กาลสมุฏฐาน
กาลสมุฏฐาน กล่าวถึงกาล ๓ ว่า เป็นสมุฏฐานของโรค ดังนี้
๑. กาล ๓ กลางวัน
๑.๑ นับแต่ย่ำรุ่งจนถึง ๔ โมงเช้า (๐๖.๐๐น. - ๑๐.๐๐น.)
พิกัดเสมหะ กระทำ

๑.๒ นับแต่ ๔ โมงเช้าถึงบ่าย ๒ โมง (๑๐.๐๐น. - ๑๔.๐๐น.)
พิกัดปิตตะ กระทำ

๑.๓ นับแต่บ่าย ๒ โมงถึงย่ำค่ำ (๑๔.๐๐น. - ๑๘.๐๐น.)
พิกัดวาตะ กระทำ

๒. กาล ๓ กลางคืน
๒.๒ นับแต่ย่ำค่ำจนถึง ๔ ทุ่ม (๑๘.๐๐น. - ๒๒.๐๐น.)
พิกัดเสมหะ กระทำ
               
๒.๒ นับแต่ ๔ ทุ่มถึงตี ๒ (๒๒.๐๐น. - ๐๒.๐๐น.)
พิกัดปิตตะ กระทำ

๒.๓ นับแต่ตี ๒ โมงถึงย่ำรุ่ง (๐๒.๐๐น. - ๐๖.๐๐น.)
พิกัดวาตะ กระทำ

๑. กาลเอกโทษ คือ โทษของเสมหะ วาตะ หรือปิตตะ อย่างใดอย่างหนึ่ง
กระทำในเวลาของกาลนั้นๆ จะมีอย่างอื่นระคนก็เพียงส่วนน้อย
๒. กาลทุวันโทษ คือ โทษสองอย่างระคนกัน
๓. กาลตรีโทษ คือ โทษระคนสามอย่างไปตลอด จะได้มีช่องให้อย่างหนึ่ง
อย่างใดกระทำหามิได้ ย่อมระคนกันอยู่ตลอดไปทั้ง ๓ อย่าง

สุริยคติดำเนินในห้องจักรราศี
๑. อันว่าพระอาทิตย์สถิตย์ในราศีเมษ สิงห์ ธนู เป็นราศีเตโช
๒. พระอาทิตย์สถิตในราศี พฤศภ กันย์ มังกร เป็นราศีปถวี
๓. พระอาทิตย์สถิตในราศี เมถุน ตุล กุมภ์ เป็นราศีวาโย
๔. พระอาทิตย์สถิตในราศี กรกกฎ พิจิก มิน เป็นราศีอาโป

พิกัดราศีเตโช กำเริบ หย่อน พิการ
๑. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๔ ไปจนเพ็ญเดือน ๕ เป็นกำหนดพระอาทิตย์
อยู่ในราศีเมษ เตโชสมุฏฐานกำเริบ พัทธะปิตตะ ระคนให้เป็นเหตุ

๒. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๘ ไปจนถึงเพ็ญเดือน ๙ เป็นกาลกำหนด
พระอาทิตย์อยู่ในราศีสิงห์ เตโชเจ้าสมุฏฐานหย่อน อพัทธะปิตตะ ระคน
ให้เป็นเหตุ

๓. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๒ ไปจนถึงเพ็ญเดือนอ้าย เป็นกาลกำหนด
พระอาทิตย์ในราศีธนู เตโชเจ้าสมุฏฐานพิการ กำเดา ระคนให้เป็นเหตุ

พิกัดราศีปถวี กำเริบ หย่อน พิการ
๑. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๕ ไปจนเพ็ญเดือน ๖ เป็นกาลกำหนดแห่ง
พระอาทิตย์ในราศีพฤษภ ปถวีเจ้าสมุฏฐานกำเริบ หทัยระ คนให้เป็นเหตุ

๒. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๙ ไปจนเพ็ญเดือน ๑๐ เป็นกาลกำหนดแห่ง
พระอาทิตย์ในราศีกันย์ ปถวีสมุฏฐานหย่อน อุทริยะ ระคนให้เป็นเหตุ

๓. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือนอ้าย ไปจนเพ็ญเดือนยี่ เป็นกาลกำหนดแห่ง
พระอาทิตย์ในราศีมังกร ปถวีเจ้าสมุฏฐานพิการ กรีสะ ระคนให้เป็นเหตุ

พิกัดวาโย กำเริบ หย่อน พิการ
๑. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๖ ไปจนเพ็ญเดือน ๗ เป็นกาลกำหนดแห่ง
พระอาทิตย์ในราศีเมถุน วาโยเจ้าสมุฏฐานกำเริบ หทัยระ คนให้เป็นเหตุ
               
๒. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๙ ไปจนเพ็ญเดือน ๑๐ เป็นกาลกำหนดแห่ง
พระอาทิตย์ในราศีตุล วาโยเจ้าสมุฏฐานหย่อน สัตถะกะวาตะ ระคนให้เป็นเหตุ
               
๓. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือนยี่ ไปจนเพ็ญเดือน ๓ เป็นกาลกำหนดแห่ง
พระอาทิตย์ในราศีกุมภ์ วาโยสมุฏฐานพิการ สุมนา ระคนให้เป็นเหตุ

พิกัดราศีอาโป กำเริบ หย่อน พิการ
๑. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๗ ไปจนเพ็ญเดือน ๘ เป็นกาลกำหนดแห่ง
พระอาทิตย์ในราศีกรกฏ อาโปสมุฏฐานกำเริบ ศอเสมหะ ระคนให้เป็นเหตุ
               
๒. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๑๑ ไปจนเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นกาลกำหนดแห่ง
พระอาทิตย์ในราศีพิจิก อาโปสมุฏฐานหย่อน อุระเสมหะ ระคนให้เป็นเหตุ
               
๓. ตั้งแต่แรมค่ำ ๑ เดือน ๓ ไปจนเพ็ญเดือน ๔ เป็นกาลกำหนดแห่ง
พระอาทิตย์ในราศีมีน  อาโปเจ้าสมุฏฐานพิการ คูถเสมหะ ระคนให้เป็นเหตุ